มะรุมกับการป้องกันรักษาโรคกระดูก
กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ???
ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
โดย นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ???
ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
กระดูก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเหมือนเดิมได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันและรักษาตั้งแต่เริ่มแรกก่อนจะเกิดกะดูกหัก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนก็คือ ได้รับแคลเซียมน้อยเกินไป ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันจะแตกต่างกัน เช่น
คนทั่วไป ควรได้รับวันละ 800 มิลลิกรัม เด็กและวัยรุ่น ควรได้รับวันละ 800-1,200 มิลลิกรัม
ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับวันละ 1,500-2,000 มิลลิกรัม
ผู้หญิงช่วงหมดประจำเดือน ควรได้รับวันละ 1,500 มิลลิกรัม
ผู้สูงอายุ ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น น้ำนม กุ้งแห้ง กะปิ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งตัว เต้าหู้เหลือง น้ำเต้าหู้ หรือ อาหารจานเดียว เช่น ข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วใส่ไข่ ข้าวราดไก่ผัดกระเพรา ขนมจีนน้ำยา เป็นต้น อย่างไรก็ตามถ้าได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารประจำวันอย่างพอเพียง ก็ไม่จำเป็นต้องได้แคลเซียมเสริม นอกจากบางคนอาจได้แคลเซียมจากอาหารไม่พอเพียง หรือ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจนถ้าได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอนานประมาณ 18 เดือน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้
ในผู้สูงอายุ ควรได้รับ แคลเซียม ร่วมกับ ฮอร์โมนเอสโตรเจน แคลซิโทนิน หรือ วิตามินดี ซึ่งจะช่วยให้แคลเซี่ยมถูกดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น วิตามินดี ส่วนใหญ่ได้รับจากแสงอาทิตย์ (ช่วงเช้า และ เย็น ) และ อาหาร ซึ่งค่อนข้างเพียงพอ ยกเว้นในผู้สูงอายุ ที่อยู่ในบ้าน ไม่ค่อยได้ออกไปตากแดด ทำให้ในผู้สูงอายุบางรายขาดวิตามินดี อาจต้องทานวิตามินดีเสริมด้วย
จากการศึกษาพบว่าโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบาง จะมีปริมาณเนื้อกระดูกลดลง และ โครงสร้างภายในของกระดูกเปลี่ยนแปลง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลง เกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น ในระยะแรกผู้ป่วยมักจะปกติดีจนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุทำให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น ทั้งที่เป็นอุบัติเหตุไม่รุนแรง เช่น ลื่นล้ม หรือ ตกเก้าอี้ แล้วเกิดกระดูกข้อมือหัก กระดูกสะโพกหัก
โรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยเป็นลำดับที่ 2 รองจากโรคข้อเสื่อม โดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติ
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 30-40 ขณะที่ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้เพียงร้อยละ 10 และพบว่าในผู้หญิงไทยอายุ 55 ปีเป็นโรคนี้ร้อยละ 20 แต่ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 60 จะเห็นว่าทุกคนมีโอกาสที่จะมีโรคกระดูกพรุนแอบแฝงอยู่
การเลือกชนิดของแคลเซียมเสริม ปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อจะเลือกใช้แคลเซียมเสริม ได้แก่
1. ชนิดและปริมาณของเกลือแคลเซียม จะทำให้ร่างกายได้รับแตกต่างกันไป เช่น
แคลเซียมคาร์บอเนต ( calcium carbonate )
ได้รับแคลเซียมร้อยละ 40
แคลเซียมซิเตท ( calcium citrate )
ได้รับแคลเซียมร้อยละ 21
แคลเซียมแลคเตท ( calcium lactate )
ได้รับแคลเซียมร้อยละ 13
แคลเซียมกลูโคเนต ( calcium gluconate )
ได้รับแคลเซียมร้อยละ 9
2. ความสะดวกในการกิน จำนวนเม็ดที่ต้องกินในแต่ละวันขึ้นอยู่กับปริมาณแคลเซียมที่ต้องการ ถ้าเป็นยาที่มีแคลเซียมต่ำ เม็ดยาที่ต้องกินก็จะต้องมากขึ้น ทำให้ไม่สะดวก และ ทำให้ความสม่ำเสมอในการกินแคลเซียมน้อยลง
3. ราคา ราคาของยาเม็ดแคลเซียมแตกต่างกันมาก โดยทั่วไป ยาเม็ดธรรมดาจะราคาถูกว่ายาเม็ดแคปซูล ส่วนยาเม็ดฟู่จะราคาแพงที่สุด สำหรับผู้สูงอายุที่อาจมีปัญหาการดูดซึมของยาอาจจำเป็นต้องใช้แบบเม็ดฟู่
4. ส่วนผสมอื่น ๆ ในยาเม็ดแคลเซียม เช่น วิตามินดี วิตามินซี แร่ธาตุอื่น ๆ ในผู้ที่ขาดสารเหล่านี้ ก็จะได้ประโยชน์เพิ่มเติม แต่ผู้ที่ไม่ขาดสารเหล่านี้ก็ไม่จำเป็น เพราะยาเม็ดแคลเซียมที่มีส่วนผสมเสริมจะมีราคาแพงขึ้นไปด้วย
ด้วยอิทธิพลของระบบการตลาดในบ้านเรา ที่มีโฆษณาเยอะแยะมากมาย ทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งระบบ ขายตรง เกี่ยวกับ แคลเซี่ยม จนทำให้เกิดความเข้าใจ คลาดเคลื่อนว่า เป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ...
ซึ่งไม่ถูกต้องนัก... เพราะ ถ้าพูดถึง กระดูก ยังจะต้องแบ่งให้ละเอียดลงไปว่า ที่พูดนั้น หมายถึง กระดูก ชนิดไหน ... ชนิด กระดูกแข็ง หรือ กระดูกอ่อน
กระดูกแข็ง เป็นส่วนที่เป็น แกนค้ำจุนโครงสร้าง จะมีความแข็งแรง ซึ่งมี แคลเซี่ยม เป็นส่วนประกอบ ถ้าขาดแคลเซี่ยม ก็จะทำให้เกิด โรคกระดูกพรุน (กระดูกโปร่งบาง กระดูกผุ ) การรักษา คือ เสริมแคลเซี่ยม
กระดูกอ่อน พบได้มากที่บริเวณ ผิวข้อต่อ เป็นส่วนที่ ทำให้ข้อ เคลื่อนไหว ได้ดีขึ้น มีส่วนประกอบเป็น น้ำและโปรตีน ถ้าผิดปกติ ก็จะทำให้เกิด โรคข้อเสื่อม (กระดูกเสื่อม) การรักษา คือ ทานยาสร้างกระดูกอ่อน (กลูโคซามีน ซัลเฟต) หรือ ยาชะลอความเสื่อม (ไดอะเซรีน ซัลเฟต)
ก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษา ก็ต้องรู้ก่อนว่า เป็นโรคของกระดูกแข็ง (กระดูกพรุน) หรือ โรคของกระดูกอ่อน (กระดูกเสื่อม) เพื่อที่ จะได้เลือกวิธีรักษาได้ถูกต้องเหมาะสม กับโรคที่เป็นอยู่ ไม่ใช่เหมารวมว่า เป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม อย่างที่พูดกัน..
มะรุมกับการรักษาโรคกระดูก
วิตามินเอ บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
วิตามินซี ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
แคลเซียม บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
โพแทสเซียม บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงาน ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุคือการหกล้ม ส่วนใหญ่มักจะกลายเป็นเรื่องร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น ถ้าเราสามารถเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรงแล้วผลร้ายของการหกล้มก็ลดน้อยลง ประสบการณ์เรื่องกระดูกนี้มีผู้ได้รับผลประโยชน์มากมาย ผู้เขียน( คุณวิไลวรรณ อนุสารสุนทร..นาฬิกาชีวิตตอน2 )เองเห็นผลเป็นคนแรก หลังจากนั้นเพื่อนของพี่สาวคนโตที่เมืองโอคาล่าประสบอุบัติเหตุตกจักรยาน ไหปลาร้าหัก แขนหัก 2 ท่อนเนื่องจาก JANE (นามสมมุติ) มีอายุ 60 ปี และยังมีอาการเบาหวานแทรกซ้อนจึงเป็นการยากลำบากอย่างยิ่งในการรักษา แพทย์ประเมินผลว่าการรักษาจะต้องใช้เวลาเป็นแรมปี เมื่อผู้เขียนทราบข่าวจึงได้เล่าประสบการณ์ส่วนตัวให้ฟังเนื่องจาก JANE เป็นเพื่อนรักของพี่สาวจึงบังคับให้เธอรับประทานใบมะรุมสดทุกวันและทุกมื้อ ขนาดลงทุนปลูกต้นมะรุมไว้ถึง 2 ต้น ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจจนแพทย์แปลกใจ ในระยะเวลา 8 เดือน JANE ก็หายสนิท และในช่วงนั้นอาการเบาหวานก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ
PHYLLIS สุภาพสตรีอายุ 80 กว่า หกล้มขาหัก เนื่องจากอยู่ในวัยชราแพทย์ผู้รักษาจึงไม่ให้ความหวังแต่อย่างใด พี่สาวไปพบเข้าก็เกิดความสงสารจึงถามว่าจะลองดูไหม แต่จะมาฟ้องร้องกันทีหลังไม่ได้ ข่าวที่ JANE หายอย่างรวดเร็วแพร่ไปทั่วหมู่บ้าน PHYLLIS จึงตกลงที่จะลอง ครั้งนี้พี่สาวให้รับประทานแบบแคปซูลวันละ 8 เม็ด อาการหายเป็นปกติภายในเวลา 6 เดือน เดือนมิถุนายน 2006 ผู้เขียนไปเยี่ยมพี่สาวที่ฟลอริด้า เธอได้เดินทางมาขอบคุณผู้เขียนด้วยตัวเอง และคุยอวดว่าขณะนี้เธอสามารถไปเล่นโบว์ลิ่งได้ทุกอาทิตย์อีกด้วย ปัจจุบันในหมู่บ้านแห่งนี้มีผู้ป่วยกระดูกหัก และหายเพิ่มขึ้นอีกหลายคน ถ้าท่านมาเที่ยวจะรู้สึกประหลาดใจที่เห็นต้นมะรุมปลูกอยู่หลายครัวเรือน
เดือนพฤศจิกายน 2549 คุณลออวรรณ ศรีกรานนท์ แจ้งมาว่า ท่านศาสตราจารย์ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ประสบอุบัติเหตุล้มฟาดบนพื้นซีเมนต์ลานจอดรถของศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง ท่านได้รับบาดเจ็บใบหน้าซีกหนึ่งบวม และแตก แขนและเข่าแตกเป็นแผลลึก เนื่องจากท่านมีโรคเรื้อรังประจำตัวคือ เบาหวาน จึงเป็นที่หวั่นวิตกของทุกคนในครอบครัวว่า บาดแผลอาจจะลุกลามแต่เนื่องจากมีน้ำมันมะรุมเป็นยาสามัญประจำบ้านจึงได้รีบมาทาแผล ผลปรากฏว่าแผลที่ใบหน้าหายภายใน 3 วัน ส่วนแผลที่แขนและหัวเข่าหายภายใน 10 วัน
อ่านรายละเอียด เพิ่มเติม ..
โรคกระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=27-02-2008&group=4&gblog=15
การวัดความหนาแน่นของกระดูก
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-02-2008&group=4&gblog=16
แคลเซี่ยม
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-02-2008&group=4&gblog=19
โรคข้อเสื่อม
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-04-2008&group=5&gblog=12
โรคข้อเข่าเสื่อม
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15