http://www.maroomthai.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 Home  Discovery Channel  Products Certificates  Payment  FAQ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 17/09/2008
ปรับปรุง 07/10/2023
สถิติผู้เข้าชม2,514,685
Page Views3,271,862
Menu
หน้าแรก
สินค้า
การชำระเงิน
สมเด็จพระเทพฯทรงเปิดสวนมะรุม
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
สมเด็จพระเทพฯทรงเปิดสวนมะรุม
สินค้าและราคามะรุม
การชำระเงิน
มะรุมของดี...ของไทย
เอกสารรับรองคุณภาพมะรุม
สัมนาและแสดงสินค้ามะรุมน่าสนใจ
มหัศจรรย์ของ "มะรุม "
ประสบการณ์จริงของผู้ใช้มะรุม
คำถามมะรุมที่พบบ่อย
คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม
ประโยชน์ของมะรุม
ประโยชน์ของน้ำมันมะรุม
เอนไซม์มะรุม
ประโยชน์ของชามะรุม
ลูกประคบมะรุม
น้ำยาบ้วนปากสมุนไพร
Products & Price
  Payment
  FAQ
Distributors Welcome
รู้ทันโรคกับมะรุม
รอบรู้เรื่องมะเร็ง...อื่นๆ
แจกมะรุมฟรี !!!
นานาสาระจากมะรุม
Moringa Research
ตรวจสอบการส่งมะรุม
แผนที่ฝ่ายจัดส่งสินค้ามะรุม
มะรุม:แหล่งอ้างอิงอื่นๆ
« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 

มะรุมแนะนำให้กินและออกกำลังกายช่วยต้านมะเร็ง

มะรุมแนะนำให้กินและออกกำลังกายช่วยต้านมะเร็ง

 

มะรุมแนะนำให้กินและออกกำลังกายช่วยต้านมะเร็ง
สถานวิทยามะเร็งศิริราช

พันธุกรรม อาหารกับโรคมะเร็ง
  
 
      
ปัจจุบันวงการแพทย์พบว่า คนเราจะเป็นมะเร็งได้นั้นจะต้องมีพันธุกรรมมะเร็ง (ยีนมะเร็ง) ในเซลล์ของร่างกายร่วมกับได้รับสารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อมภายนอก  ในระยะ 10 ปีมานี้ พบว่ามียีนมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งในมนุษยชาติ

ยีนมะเร็งเหล่านี้ทำให้เกิดมะเร็งทุกรายจริงหรือ
      ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมมะเร็ง ได้ประเมินว่ามีเพียงประมาณร้อยละ 5-10 ของมะเร็งทั้งหมด ที่เกิดจาก “ยีนมะเร็ง” และถ่ายทอดทางพันธุกรรม ยีนมะเร็ง ยีนสุนัขเฝ้าบ้าน แต่ละเซลล์ของมนุษย์จะมียีน (หรือแถบพันธุกรรม) ประมาณ 5 หมื่นถึงแสนยีน แต่ละยีน ประกอบด้วย ดีเอ็นเอ ทำหน้าที่สั่งการทำงานของเซลล์  ยีนเหล่านี้จะมีคล้ายสวิตซ์ปิด-เปิด ที่ตอบสนองต่อคำสั่งการในร่างกาย และจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ยีนเหล่านี้จะควบคุมให้เซลล์ในร่างกายเจริญเป็นปกติ เรียกว่า “ยีนสุนัขเฝ้าบ้าน” แต่ถ้ามีสารจากภายนอกที่ร่างกายได้รับสะสมไว้นาน ๆ จะทำลาย ดีเอ็นเอ จนซ่อมแซมกลับคืนไม่ได้ หยุดทำงาน ทำให้การควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์เสียไปเกิดเป็นเซลล์มะเร็งขึ้น

ยีน-กำแพงป้องกันมะเร็ง
-  มะเร็งเกิดจากการสะสมของการทำลายของยีนเป็นเวลานาน ๆ 10-30 ปี
-  ส่วนใหญ่นักวิทยาศาสตร์มักจะสนใจกับยีนสุนัขเฝ้าบ้าน
-  พบว่ากรดไขมันบางชนิดมีผลต่อยีน  BRCA-1 จึงยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมได้
-  ยีน p-53 มักจะกลายพันธุ์ได้ในช่วงชีวิตของมนุษย์ พบว่าประมาณ 50% ของมะเร็งจะพบยีน p-53 ที่กลายพันธุ์แล้ว
-  สารลัยโคฟีน ซึ่งเป็นสารฟัยโตเคมีในมะเขือเทศ จะลดการกลายพันธุ์ของยีน p-53 ได้
-  กรดโฟลิกก็ลดการกลายพันธุ์ของยีน p-53 และเป็นที่ยอมรับกันว่า กรดโฟลิก ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
-  กรดไขมันบิวทรัยเรท ซึ่งเกิดจากร่างกายย่อยสลายอาหารกากใยจะกระตุ้นการทำงานของยีน  p-21 และป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
 
       ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์กำลังค้นหาว่ามียีนอะไร ที่จะใช้เป็นตัวทำนายความรุนแรงของโรค  และมีอะไรมาทำให้ยีนสุนัขเฝ้าบ้านทำงานหรือหยุดทำงานจากการกลายพันธุ์  รวมทั้งทำอย่างไรจึงจะพบว่าเริ่มมีการกลายพันธุ์ของยีนในร่างกายแล้ว

อาหารและพฤติกรรมการกินอยู่ของมนุษย์กับโรคมะเร็ง
 -  สิ่งแวดล้อมที่มีสารพิษจะทำลายยีน โดยเฉพาะยีนสุนับเฝ้าบ้าน แต่ขณะเดียวกันก็พบว่ามีสารบางอย่างสามารถจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่ยีนถูกทำลายไปแล้วได้ เช่น สารแอนติออกซิแดนท์ จากพืชผัก ผลไม้ หรือสารฟัยโตเคมีในเต้าหู้ เป็นต้น
 -  จากการวิจัยพบว่าร้อยละ 40-60 ของมะเร็งมักจะเกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น คนที่กินไขมันมาก ๆ สูบบุหรี่ กินเหล้า แต่กินพืชผักผลไม้น้อย กินเมล็ดธัญพืชน้อย คนเหล่านั้นมักจะเสียชีวิตจากมะเร็ง
-  มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคทางพันธุกรรม แม้ว่าในร่างกายจะพบว่ามียีนมะเร็งก็ตาม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านอาหารการกินและความเป็นอยู่เสียใหม่ ก็อาจจะไม่เป็นมะเร็งได้

     เมื่อเริ่มมีการกลายพันธุ์ของยีน  การเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและความเป็นอยู่จะทำให้ยีนกลับเข้าสู่หน้าที่ปกติ นี่คือการป้องกันมะเร็งที่แท้จริง
     ในอนาคต มนุษย์เราอาจจะต้องกินอาหารตามสูตร ตามแบบแปลนของยีนในร่างกายของแต่ละคน แต่ใน
ปัจจุบันนี้เราพอจะมีแนวทางพื้นฐานสำหรับทุกคนในการป้องกันมะเร็ง (บันได 9 ขั้น) ดังนี้ :-
อาหารและพฤติกรรมของมนุษย์ในการป้องกันมะเร็ง (สถาบันวิจัยโรคมะเร็งของสหรัฐอเมริกา)
 1.  กินพืชผัก ผลไม้และเมล็ดธัญพืชเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 5-6 ชนิด (ผล) จะได้ทั้งสาร
แอนติออกซิแดนท์ และสารฟัยโตเคมี
 2.  กินไขมันให้น้อย โดยเฉพาะไขมันสัตว์ (ถ้าอายุเลยวัยกลางคนไปแล้ว)
 3.  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายแข็งแรง อย่าให้อ้วน
 4. งดบุหรี่และเหล้า
 5. หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดมากเกินไป สวมเสื้อผ้ากันแดด หรือใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 15 ขึ้นไป
 6. พบแพทย์เมื่อสังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลผิดปกติในร่างกาย
 7. พบแพทย์เมื่อมีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 8.  ควรตรวจค้นหามะเร็งที่พบบ่อยในคนไทยเป็นประจำ เช่น ตรวจเต้านมด้วยตนเอง  ตรวจภายในเพื่อหามะเร็งปากมดลูก
 9.  ถ้ามีญาติสายตรงในครอบครัวเป็นมะเร็ง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งแรกเริ่มให้บ่อยขึ้น หรือเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินอยู่เสียใหม่ตามคำแนะนำของแพทย์

การตรวจพันธุกรรมมะเร็ง
 -  ปัจจุบันทางการแพทย์สามารถจะตรวจสอบด้านพันธุกรรมของมะเร็งบางชนิดได้ แต่ยังไม่สามารถจะนำมาตรวจกับประชาชนทั่วไปได้ คงใช้เฉพาะในการวิจัยเท่านั้น
 -  เพราะการตรวจจะมีราคาแพง แปลผลยาก ต้องเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ บุคคลในครอบครัว และที่สำคัญ คือ ยังไม่มีการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในกรณีที่การตรวจให้ผลบวก
 -  ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น ตรวจพบยีนมะเร็ง BRCA-1 ในสตรีผู้หนึ่งแล้ว ซึ่งอาจจะทำนายได้ว่าร้อยละ 85  ของสตรีที่มียีนชนิดนี้ จะเป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 50 ปี นอกจากเขาจะเสี่ยงกับการเกิดมะเร็งเต้านมแล้ว สตรีผู้นี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
 -  ปัญหาคือแพทย์ปฏิบัติอย่างไรกับสตรีผู้นี้
• ตัดเต้านมออกทั้ง 2 ข้าง ?
• ตัดรังไข่ออก ?
• ตัดมดลูกออก ?
• เฝ้าดูเฉยๆ ?
• แนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเองบ่อย ๆ
• สังเกตอาการผิดปกติในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ และลำไส้
• แนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมในการกินอาหาร เช่น ลดไขมันจากสัตว์ งดยาที่เข้าฮอร์โมนเพศ ออกกำลังกายอย่าให้อ้วน กินอาหารที่มีกากใย ฯลฯ

 

 

ความสมดุลที่ละเอียดอ่อนของร่างกาย
 -  ทุกคนรู้ว่าการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์จะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ แต่อาจจะไม่รู้ว่าการรักษาความสมดุลของพลังงาน (แคลอรี) ที่กินเข้าไปกับพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญจะเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรค ถ้าขาดสมดุลจะทำให้เกิดโรคได้โดยเฉพาะโรคมะเร็ง
 -  แคลอรีที่ร่างกายได้รับเกินความจำเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเฉลี่ยร้อยละ 20-30 จะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น
 -  แคลอรีส่วนเกินนี้ เกิดจากการกินอาหารมากเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันจากสัตว์
แล้วควรทำอย่างไร
 -  ควรกินอาหารให้เป็น กินอย่างมีสุขภาพ
 -  รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่าให้อ้วน จะลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ความดัน เลือดสูง เบาหวาน หัวใจและโรคอัมพฤกษ์ ฯลฯ

การลดแคลอรีส่วนเกินจะต้านมะเร็งได้
 -  ในสัตว์ทดลอง ถ้าให้อาหารจำกัด (จำกัดแคลอรี) จะเกิดมะเร็งน้อยกว่าให้กินอาหารตามปกติ
 -  ในมนุษย์แคลอรีส่วนเกิน จะเป็นจุดเริ่มการกลายพันธุ์ของยีนภายในเซลล์ ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นในร่างกาย
 -  เมื่อกินแคลอรีน้อยจะกระตุ้นสารแอนติออกซิแดนท์มาซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอ ทำให้ยีนกลายสภาพเข้าสู่ปกติ เซลล์ก็จะทำงานเป็นปกติ
ไขมันบ่อเกิดของแคลอรีส่วนเกิน
 -  แคลอรีส่วนเกินทำให้เกิดมะเร็งมากกว่าจากไขมัน หรือแคลอรีส่วนเกินร่วมกับไขมันจะทำให้เกิดมะเร็งได้ง่ายขึ้น
 -  พบว่าคนที่กินไขมันน้อย  แต่กินอาหารอื่นที่มีแคลอรีสูง ก็ยังเกิดมะเร็งได้
 -  ในชีวิตประจำวัน ไขมันจะเป็นส่วนสำคัญที่ให้พลังงานและอาหารที่มีแคลอรีสูงก็มักจะมีไขมันมากด้วย
 การเกิดมะเร็งเป็นกระบวนการซับซ้อนแม้ว่าจะลดไขมันแล้ว อย่าลืมว่ายังมีสาเหตุอื่น ๆ (สารก่อมะเร็ง) ทำให้เกิดมะเร็งได้

ผลของแคลอรีในมนุษย์
 -  คนที่กินอาหารที่มีแคลอรีสูงมักจะอ้วน คนอ้วนมักจะสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง
 -  คนอ้วนจะมีไขมันสะสมในร่างกายมาก ไขมันจะเปลี่ยนฮอร์โมนบางชนิดให้กลายเป็นฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) โดยเฉพาะในสตรีวัยหมดประจำเดือนแล้ว ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้
 -  ควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์พอดี ลดอาหารไขมัน จะลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ความดันเลือดสูง เบาหวาน ฯลฯ
 -  คนที่มีน้ำหนักตัวเท่ากัน อาจจะมีสัดส่วนของไขมัน และกล้ามเนื้อไม่เท่ากัน จึงอาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่างกัน ถ้าทำให้น้ำหนักตัวลดลงสัก 5 กก. อาจจะไม่เป็นมะเร็ง ! แต่ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก 10 กก.อาจจะเป็นมะเร็งได้ง่าย !

ออกกำลังกายเพื่อรักษาสมดุลของแคลอรี
 -  การออกกำลังกาย เป็นส่วนสำคัญในการรักษาสมดุลของแคลอรี  ทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี ต้านทางการเกิดมะเร็งได้
 -  การวิจัยพบว่า คนที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่เฉย ๆ จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่า คนที่อยู่เฉยไม่ได้
 -  สตรีชาวอเมริกันที่เล่นกีฬาเสมอ ๆ จะเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าร้อยละ 35 และเป็นมะเร็งมดลูกน้อยกว่าร้อยละ 60 เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่เคยเล่นกีฬาเลย
 -  การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ จะเป็นการสลายไขมัน เป็นการลดบ่อเกิดของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีลดน้อยลงด้วย
 -  ตำแหน่งที่มีการสะสมไขมันก็มีความสำคัญ เช่น ไขมันที่รอบ ๆ  เอว จะมีอันตรายมากกว่าไขมันที่บริเวณต้นขา จากการวิจัยพบว่าคนที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายอยู่เสมอ ๆ จะเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนอืดอาด

หลักการออกกำลังกาย
-  เลือกการออกกำลังกายวิธีที่ชอบและสันทัดโดยสม่ำเสมอ
-  ออกกำลังกายอย่าหักโหม ดูกำลังของตนเอง ค่อยเป็นค่อยไป ประมาณ 30 นาที ทุกวัน
-  รวมถึงการที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ด้วย เช่น ขึ้นลงบันได้ เดิน เต้นรำ ขี่จักรยาน หรือเดินอย่างน้อยวันละ 2 กม. ทุก ๆ วันบันได 9 ขั้น ในการปฏิบัติตัวเพื่อขจัดแคลอรีส่วนเกิน
 1.  อย่าปล่อยให้หิวจัดจนเกินไป เพราะจะทำให้กินได้ทุกอย่างที่ขวางหน้า โดยไม่คำนึงถึงแคลอรีทั้งสิ้น
 2.  กินอิ่มแค่พอดี อย่ากินมากจนเกินไป
 3.  ต้องกินอาหารที่ประกอบด้วย ผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืชทุกวัน เพราะมีไขมันน้อย แต่มีวิตามิน เกลือแร่และกากใยมาก
 4.  อย่าใช้วิธีกินอาหารเป็นการดับความเครียด
 5.  ควรลดอาหารที่ลดไขมันจากการเตรียมอาหาร เช่น อาหารปิ้ง ย่างหรืออบ รวมทั้งของหวานต่าง ๆ อาหารเหล่านี้แม้ว่าจะไม่มีไขมันมาก แต่ก็มีแคลอรีสูง
 6.  หลีกเลี่ยงนิสัยการทำให้อาหารน่ากิน โดยใช้ไขมัน เช่น อาหารเจ (ดูจะมันมาก) จะมีอันตรายเช่นกัน
 7.  ในกรณีที่ร่างกายผอมโดยพันธุกรรม แม้กินมากก็ไม่อ้วน แต่จะได้แคลอรีมากเกินไป
 8.  การลดหรือเพิ่มน้ำหนักตัวต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหมให้ได้ตามความต้องการในระยะเวลาอันสั้น
 9.  อย่ากังวลใจกับการมีคนอื่นมาทักหรือวิจารณ์รูปร่างของเรา เช่น ผอมไป อ้วนไป จะทำให้เผลอกินจะได้รับแคลอรีเข้าไปมาก หรือลดแคลอรีเร็วเกินไปจะเกิดอันตรายได้

 


 
 หน้าแรก สินค้าและราคา มะรุมแคปซูล น้ำมันมะรุม คำถามที่พบบ่อย  บทความ  รวมรูปภาพ
view