ชาวมะรุมระวัง!
สารพิษที่เพิ่มอัตราการเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
รศ.พญ.ปรียานุช แย้มวงศ์
รองคณบดีฝ่ายการศึกษา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
1. สารพิษจากเชื้อรา มีหลายชนิด ได้แก่ อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) สเตอริกมาโตซีสติน (sterigmatocystin) โอคราทอกซิน เอ (achratoxin A) รูกูโลทอกซิน (rugutotoxin) และ ลูติโอสกัยริน (luteoskyrin) ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ ข้าวสุก ข้าวโพด ถั่วลิสง อาหารที่ถนอมโดยการตากแห้งที่มิได้ผ่าขบวนการอย่างถูกต้องมักจะมีเชื้อรา aspergillus, penicillium และสารพิษของมันปนเปื้อน คนไทยชายเป็นมะเร็งตับมากที่สุด ฉะนั้น ประชาชนควรได้รู้วิธีการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงสารพิษ ดังกล่าว
2. สารเอ็นในโตรโป (N-nitroso compounds) ได้แก่ ไนโตรซามีน (nitrosamines) และไนโตรซามีด (nitrosamides) เป็นสารที่เกิดจากของหมักดอง ระหว่างเกลือไนไตรท์ กับสารพวกเอมีนที่มาจากอาหารหรือยาหรือสารปราบศัตรูพืช สารพวกนี้ทำให้หนูพุกขาวเกิดมะเร็งที่ตับ, หลอดอาหาร, ระบบทางเดินหายใจ, ไต, ทางเดินอาหารและกระเพาะปัสสาวะ
3. สารก่อมะเร็งจากพืช ได้แก่ ไซเคซิน (cycasin) จากผลมะพร้าวเต่าหรือปรง อะเรไคดีน (arechidine) และอะเรโคลีน (arecoline) จากผลหมาก พทาควิโลไซด์ (ptaquilosside) จากผลผักกูด สมุนไพรที่ใช้เป็นประจำควรได้รับการตรวจสอบว่ามีสารก่อมะเร็งร่วมด้วยหรือไม่
4. สารเจือปนในอาหาร และน้ำดื่ม ได้แก่ สีผสมอาหาร ที่ไม่ถูกต้องตามาตรฐาน ของกระทรวงสาธารณสุข เช่น orange ll, Rhodamine B, Croceine scarlet 3B, Auramine, Melachite green, 4-Aminoazobenzene, Butter yellow ซึ่งเป็นสีที่ต้องห้ามทั้งหมด สีอนินทรีย์ที่ใช้ย้อมผ้า กระดาษและวัสดุต่างๆ ประกอบด้วยเกลือ สารตะกั่ว แคดเมี่ยมและปรอท สารชูรสต่างๆ เช่น ขันฑสกรหรือซัคคาริน (saccharin) ไซคลาเมท (cyclamate) สารเคมีที่ได้มาจากภาชนะ ได้แก่ สารโลหะหนัก สารไวนิลคลอไรด์โมโนเบอร์ (Vinyl chloride monomer)
5. สารที่เกิดจากการปรุงอาหาร ได้แก่ สารจำพวกโปลีไซคลิกอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAH หรือ Polycyclic aromatic hydrocarbons) ในอาหารพวกเนื้อ/ไขมันเผา ปิ้ง ย่าง ด้วยฟืนหรือถ่านไฟ และปลาหรือเนื้อรมควัน มักจะมีสารก่อมะเร็ง PAH เช่น benzo (a) pyrene, dibenz (a,h) anthracenc, benzo (a) anthracenc และ dienzo (a,h) pyrene
นอกจากนี้ยังมีสารจำพวกไพโรไลเซต (pyrolsates) ซึ่งมีหลายชนิดในอาหารพวกเนื้อที่ถูกปรุงหรือทำให้สุก โดยการเผา การปิ้ง การย่างที่มีอุณหภูมิสูงโดยตรงจนไหม้ดำเกรียม สารพวกนี้ ไดแก่ IQ, Mc-IQ, Trp-P-l, Glu-P-l และ Glu-P-L
6. มลพิษจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สารปราบศัตรูพืช ดีดีที คาร์บาเบท สารฆ่าหญ้า (2,4D,2,4,5 T, paraquat) สารโลหะหนัก แร่ใยหินหรือแอสเบสตอส เบอริลเลียม สารกัมมันตรังสีเหล่านี้ ทำให้เกิดมะเร็งทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม อาจผ่าขบวนการ "โซ่อาหาร" ย้อนกลับไปสู่ผู้ใช้หรือชั่วลูกหลาน
7. อาหารดิบที่อาจมีพยาธิ เช่น ปลาดิบ ปลาร้า ปลาจ่อม ปูเค็ม ซึ่งอาจมีพยาธิใบไม้หรือไข่ของมัน พยาธิทำให้เกิดมะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ในชาวไทยภาคอีสานซึ่งรับประทานอาหารที่ทำจากสัตว์น้ำและไม่ถูกทำให้สุก ตัวพยาธิจะทนต่อการหมัก/ดอง ความร้อนเท่านั้น จะสามารถทำลายไข่และตัวพยาธิได้
8. ยาสมุนไพรที่มีสารหนูหรืออาร์เซนิก สารหนูทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง โดยการรับประทานอาหาร น้ำดื่มหรือยาแผนโบราณที่มีสารหนูที่เป็นส่วนประกอบ จึงพึงระวังโรคไข้ต่ำ ที่เกิดในประชาชนอำเภอร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช มีสาเหตุมาจากการปนเปื้อนของสารหนูในน้ำดื่ม ซึ่งมาจากแหล่งน้ำในเหมืองแร่เก่า
9. กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สารคาเฟอีนมีฤทธิ์ยับยังการช่วยซ่อมแซมโมเลกุล ดี เอ็น เอ (DNA repair) จึงทำให้เสริมฤทธิ์การทำลายทางพันธุกรรมของสารก่อกลายพันธุ์ และสารก่อมะเร็ง คาเฟอีนในขนาดสูงจะทำให้หนูเป็นมะเร็งตับอ่อน
10. เหล้าหรือเอทิลแอลกอฮอล์ มีหลักฐานมากมายที่แน่ชัดว่า เหล้าเป็นปัจจัยสำคัญทีทำให้เกิดโรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะ มะเร็งตับ, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งทางเดินอาหาร, เหล้าทำให้เกิดโรคไขมันคั่งในตับ และโรคตับแข็งก่อนที่จะเป็นมะเร็งตับ เหล้าเป็นทูเมอร์โปรโมเตอร์ เหล้าทำให้อัตราการเกิดมะเร็งช่องปาก คอหอย และกล่องเสียงในคนสูบบุหรี่สูงถึง 10-20 เท่า อัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งจะเพิ่มตามจำนวนครั้งของการดื่มและเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ในสุราที่ดื่ม
บทบาทของแอลกอฮอล์และบุหรี่ในการเกิดมะเร็งบริเวณศีรษะและคอนั้น เข้าใจว่าเนื่องจากสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการเผ่าไหม้ของบุหรี่เป็นตัวเริ่มต้น แลมี Alcohol เป็นตัวส่งเสริมให้สารพิษออก
ฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมาย โดยแอลกอฮอล์มีบทบาท ดังนี้
1. แอลกอฮอล์ อาจมีหน้าที่เป็นตัวทำลายของสารพิษ
2. แอลกอฮอล์ อาจเป็นตัวทำให้ระบบทำลายสารพิษต่างๆ เสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้ปริมาณสารพิษตกค้างในร่างกายจนเกิดการสะสมแสดงความเป็นพิษออกมา
3. แอลกอฮอล์ ทำให้ระบบ metabolism ที่อวัยวะเป้าหมายเปลี่ยนแปลงไป
4. เนื่องจาก แอลกอฮอล์ 1 gm ให้พลังงานถึง 7 Recal จึงทำให้เกิดภาวะทุโภชนาการในผู้ติดสุรา และทำให้มีการขาดจุลโภชนาสาร (micronutricort) ด้วย
5. แอลกอฮอล์ สามารถลดการดูดซึมสารอาหารสำคัญๆ รวมทั้ง vitamin ต่างๆ ที่ช่วยในการควบคุมการแบ่งตัวของ cell epithelial ทำให้ metabolism ภายใน cell epithelial ของอวัยวะ
เป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลทำให้มีการกระตุ้นการเกิดพิษจากสารพิษในบุหรี่
11. บุหรี่ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก และมะเร็งในทางเดินหายใจ อัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งขึ้นอยู่กับจำนวนบุหรี่ต่อวัน คนเป็นโรคมะเร็งปอดถึง 90 % ได้เคยสูบบุหรี่มานานก่อน ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งหลายชนิด ในการเผาผลาญบุหรี่อย่างสมบูรณ์จนได้ควันบุหรี่แล้ว จะได้สารเคมี > 3,000 ชนิด โดยมีสารก่อมะเร็งที่สำคัญชนิดหนึ่ง คือ เบนโซ (10) และสารเคมีที่ก่อกลายพันธุ์ และก่อการเกิดมะเร็งอื่นอีกมาก
เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ภรรยาที่มีสามีสูบบุหรี่มักจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิดได้ง่าย แสดงว่าผู้ที่หายใจควันบุหรี่โดยมิได้สูบเองก็มีอันตรายและโอกาสเป็นมะเร็งได้ สารอาหารที่ลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็ง มีฤทธิ์ตรงข้ามกับสองพวกแรก จึงมีการเรียกสารตรงข้ามพวกนี้ว่า "สารต่อต้านการก่อมะเร็ง" (anticarcinogens) ซึ่งพบว่ามีในธรรมชาติหลายชนิด
1. กากใยอาหาร (dietary fiber) ป้องกันการเกิดมะเร็งทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ กากใยอาหาร มีบทบาทต่อการลดการเกิดมะเร็งในลำไส้ ดังนี้
- ใยอาหารมีคุณสมบัติสามารถอุ้มน้ำ (hydrations) ไว้ในตัวเองได้ดีมาก ดังนั้น เมื่อใยอาหารเคลื่อนไปสู่ลำไส้ใหญ่แล้ว ย่อมมีผลทำให้อุจาระอ่อนตัว จึงเป็นการช่วยให้การขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกายง่ายขึ้น
- ใยอาหารมีผลในการเพิ่มน้ำหนักของอุจจาระ (Fecal weight) แต่ไปเจือจางองค์ประกอบต่างๆ ในลำไส้ใหญ่ (colonic contents) ซึ่งเชื่อว่าผลเช่นนี้สามารถไปกระตุ้นประสาทของลำไส้ใหญ่ ทำให้การขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกายได้มากขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่ากลไกที่เป็นการย่นระยะเวลาการไหลของกากอาหารต่างๆ ภายในลำไส้ใหญ่สั้นลงนั่นเอง
- ใยอาหารมีคุณสมบัติอีกประการหนึ่ง คือ สามารถดูดซึมสารอินทรีย์ (adsorption of organic substances) บางชนิดได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารอินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ ได้แก่ bile acid, bile salt รวมทั้งสารอินทรีย์หลายชนิดที่มีฤทธิ์ก่อมะเร็ง เช่น dimethydrazine, methyazoxymethanol, azoxymethan และ methylnitrosouria เป็นต้น
- ใยอาหารบางชนิด โดยเฉพาะ Non-cellutic polysacharide เมื่ออยู่ในลำไส้สามารถทำปฏิกิริยาหนัก (fermentation) โดยผลจาก bacteria บางชนิด แล้วทำให้ได้ผลิตผลเป็นสารพวกกรดไขมันอิสระชนิดสารสั้น (Short-Chain Free Fatty acid) ได้แก่ acetic acid, propionic acid และ butyric acid เป็นต้น Fatty acid เหล่านี้ ทำให้ภาวะความเป็นกรดด่าง (pH) ในลำไส้ลดต่ำลง เรียกว่าเป็น acidle pH ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยให้เซลล์ของลำไส้ใหญ่กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้โดยง่าย เพราะจากการศึกษาพบว่าภาวะความเป็นกรด-ด่างที่สูง หรือ Alkaline pH เท่านั้นที่จะถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ - จากการศึกษาพบว่าหากจำกัดหรือควบคุมระดับของพลังงานในร่างกายให้พอเหมาะแล้ว ย่อมเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดระยะเวลาในการไหลผ่านของกากอาหารภายในลำไส้ใหญ่ และช่วยเพิ่มการขับถ่ายออกนอกร่างกาย ทำให้เพิ่มการสูญเสียพลังงานโดยการขับถ่ายอุจจาระ
2. วิตามินเอ รวมทั้งเบต้าแคโรทีน และคาโรทีนอยด์ ควบคุมการ differentiated ของ special epithelial cell ส่วนใหญ่ ได้แก่ mucous secreting columnar epithelium ใน gland และ mucous surface ถ้าขาดวิตามินเอ จะทำให้เซลล์เหล่านี้ถูกแทนที่ด้วย non secreting lecratinized squamous epithelium ที่พบเห็นได้ เช่นใน mucous membrane ของตา, mucoga ของ respiratory, gastrointestinal และ genitourinary tract เรียกภาวะนี้ว่า "Squamous metaplasia" ซึ่งเป็นผลทำให้ลดความต้านทานต่อการติดเชื้อ และการบุกทำลายของสารพิษ และสารก่อมะเร็งทั้งหลาย นอกจากนี้ วิตามินเอยังเป็นสารเอนตี้ออกซิเดนท์ (antioxidant) และมีคุณสมบัติไปจับกับ single oxygen (ส่งเสริมภูมิคุ้มกันของ BCG ในการต่อต้านมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น)
3. วิตามินอี หรืออัลฟาโทโคเฟอรอล (alpha tocopherol) เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ธรรมชาติที่สำคัญที่สุดของร่างกาย มีบทบาทในการทำลายสารพวกฟรีแรดิกัล (Free radicals) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์ตาย เซลล์เสื่อมสภาพ เซลล์กลายพันธุ์ และการเกิดมะเร็ง โมเลกุลของวิตามินอีละลายฝังอยู่ในชั้นฟอสโพไลปิดของเยื่อหุ้มเซลล์ จึงป้องกันขบวนการออกซิเดชั่นของไลปิดบนเยื่อเป็นอย่างดี
4. วิตามินซี มีผลต่อการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ดังนี้
- ช่วยลดอัตราเสี่ยงจากการเกิดมะเร็ง โดยวิตามินซีจะทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระ superoxide และ hydroxyl เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งมาจากการสลายตัวของไขมันไม่อิ่มตัว (polyansatersated fatty acid) และยังทำปฏิกิริยาโดยอ้อมในการป้องกันการสลายตัวของไขมันในเยื่อหุ้มเซลล์ โดยช่วยในการสังเคราะห์วิตามินอีที่ติดกับผนังเซลล์ขึ้นมาใหม่ เป็นการป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อบุเซลล์
- ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยวิตามินซีจะช่วยในการทำลายเป็นพันธะของสารก่อมะเร็งโดยตรง ป้องกันขบวนการเกิดเซลล์มะเร็ง เนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นแอนตี้ออกซิเดนท์ โดยจับกับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น บทบาทสำคัญ คือ มีฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาระหว่างไนไตร์ท และอะมินทุติยะภูมิ มีผลให้เกิดไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารทำให้เกิดโรคมะเร็งได้นั้นเป็นไปได้น้อยลง และวิตามินซี ยังช่วยกระตุ้นให้มีภูมิต้านทานทาน โดยเพิ่มประสิทธิภาพของ Lymphocytes นอกจากนี้ วิตามินซี ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง หรือ crosslinks ให้แก่โมเลกุล collagen ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จึงสามารถช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อมีการสร้าง capsule (encapsulation) ล้อมรอบเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในรูปของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จึงป้องกันการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ถ้าโชคดีมะเร็งขนาดเล็กอาจถูกล้อมจนไม่สามารถแบ่งตัวจนกลายเป็น cyst ไป
5. สารธรรมชาติอื่นๆ มีรายงานจากการวิจัย พบว่ามีสารยับยั้งการเกิดมะเร็ง เช่น
- อัลลิซิน (allicin) และสารพวกซัลไฟต์ (sulfides) ในน้ำมันที่สกัดจากหัวหอมและกระเทียม
- แทนนิน (tannin) เช่น อิปีแกลโลแครทตินแกลเลท (epigallocatechingallate) จากใบชา โปลีฟีนอล (polyphenols) จากผักผลไม้รสฝาด
- อินโคล-3-คาร์ฟินอล (indole-3-carbinol) และอินโคล-3-อะซิโตไนไตรท์ (indole-3-acetonitrile) ซึ่งมาจากสารกลูโคบราสลิซิน (glucobrassicin) ในกระหล่ำปลีรอคโคลีและผักใบอื่นๆ
- น้ำมันจากผลส้ม (citrus fruit oils) สามารถลดฤทธิ์ของ benzo (a) pyrene และ 9,12-dimethylbenz (a) anthracene ที่ทำให้เกิดมะเร็งในหนูได้
- สารคาวีบอลปาล์มปิเตท (kahwcol palmitate) และคาเฟสตอลปาล์มปิเตท (cufestal palmitate) ในเมล็ดกาแฟดิบ ยับยั้งการเกิดมะเร็งเต้านมในหนูได้
- สารฟลาโลนอยด์ (flavonoids) ในพืชหลายชนิด กระตุ้นการทำงานของเซลล์เพชรฆาต (natural killer cells) ให้ทำลายเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น
ข้อบัญญัติ 7 ประการ ดังต่อไปนี้
1. รับประทานอาหารที่มีกากใยให้มากพอเป็นประจำ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง และธัญพืชต่างๆ ที่ไม่ขัดสีจนขาว
2. รับประทานอาหารที่มีผักสีเขียวเข็ม หรือผลไม้สีเหลือง-แดงบ่อยๆ เพราะว่ามันมีวิตามินเอและซีสูง
3. พยายามรับประทานผักประเภทกระหล่ำปลี บรอคโคลี ผักกาดขาว ยอดผักกระหล่ำดอก เพราะว่ามี indole-3carbinol มาก และยับยั้งพืชของสารก่อมะเร็ง PHA ได้
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด หมักดอง ย่างไฟ รมควัน หรือมีเกลือไนเตรทและไนไตรท์
5. ลดอาหารจำพวกไขมันทุกประเภท (การหลีกเลี่ยงอาหารประเภทผัด ทอด และเจียวด้วย)
6. อย่าให้อ้วนมากเกินไป (รับประทานอาหารพอสมควร ออกกำลังกายเป็นประจำ)
7. ลดหรืองดสูบบุหรี่ อาหารแลเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์