สารต้านอนุมูลอิสระจากมะรุม
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอนุมูลอิสระ&สารต้านอนุมูลอิสระข้อมูลจากหนังสือ Sirium's 30s Essenceดร.นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
"อนุมูลอิสระ (Free Radical)" คือสิ่งซึ่งเกิดขึ้นในธรรมชาติ โดยการทำปฏิกิริยากันของสารเคมีต่างๆ เช่น ออกซิเจน ถึงแม้อนุมูลอิสระจะมีอายุสั้น แต่มีผลในการอันตรายต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เป็นศัตรูร้ายแรงของสารพันธุกรรม (Gene) ซึ่งอยู่ในเซลล์ อนุมูลอิสระเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ในโมเลกุลที่อยู่ในภาวะสมดุล ใจกลางของโมเลกุลจะถูกล้อมรอบด้วยประจุลบเป็นคู่ๆ ซึ่งเรียกว่าอิเล็กตรอน เมื่อดึงอิเล็กตรอนตัวหนึ่งออกจากการจับคู่ (ขบวนการที่เรียกว่าสันดาป หรือ Oxidation) จะทำให้โมเลกุลเกิดภาวะที่ไม่สมดุล ซึ่งในภาวะเช่นนี้ เราเรียกว่าอนุมูลอิสระ และมีผลในการทำ "ทำอันตราย" อนุมูลอิสระพยายามที่จะอยู่ในภาวะที่สมดุลอีกครั้งโดยการดึงเอาอิเล็กตรอนอีกตัวหนึ่งจากโมเลกุลอื่น มาเข้าคู่ ในขณะที่โมเลกุลที่ถูกดึงอิเล็กตรอนไปก็จะกลายเป็นอนุมูลอิสระ ปัจจุบัน อนุมมูลอิสระจากปัจจัยภายนอกร่างกายเกิดขึ้นได้มากมาย โดยการหายใจเอาอากาศซึ่งเต็มไปด้วยมลพิษและควันบุหรี่เข้าไป การทานอาหารและเครื่องดื่มซึ่งมีสารเคมีเพิ่ม และการมีชีวิตอยู่ภายใต้ดวงอาทิตย์ ซึ่งมีพลังงานก่อให้เกิดอนุมูลอิสระได้สารต้านอนุมูลอิสระโมเลกุลใดที่ทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระ และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากอนุมูลอิสระจึงถูกเรียกว่า สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) สารต้านอนุมูลอิสระสามารถที่จะหยุดยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้ โดยการบริจาคอิเล็กตรอนให้กับอนุมูลอิสระจนกลายเป็นโมเลกุลที่อยู่ในสภาวะที่สมดุล โดยที่โมเลกุลของตัวมันเองที่บริจาคอิเล็กตรอนไปจะไม่กลายเป็นอนุมูลอิสระ ในธรรมชาติมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในอาหารที่มาจากพืชมากมาย อย่างวิตามินซีและวิตามินเอ และจำนวนของสารต้านอนมูลอิสระจากพืชก็ถูกค้นพบมากขึ้นทุกวัน เฉพาะไอโอฟลาโวนอยด์ (คือ สารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายน้ำได้) ก็มีมากมายหลายพันชนิด เช่น คูมาริน (Coumarin) คาเทคิน (Catechin) แอนโทไซยาโนไซด์ (Anthocyanoside) และโอโซฟลาโวน (Isoflavone)ส่วนประเภทแคโรทีนอยด์ละลายในไขมันได้ จึงสามารถสอดแทรกผ่านเนื้อเยื่อและโครงสร้างอื่นๆ ที่มีไขมันได้ แคโรทีนอยด์มีจำนวนหลายร้อยชนิดที่สำคัญก็อย่างเช่น อัลฟาแคโรทีน เบตาแคโรทีน แกมมาแคโรทีน ไลโคพีน ลูทีน (Lutein) หรือซีแซนทิน (Zeaxanthin) และเบตาคริปโตแซนทิน (Beta Cryptoxantine)Do You Know ?Antioxidant เป็นสารที่ต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวให้ช้าลงได้ ทำให้ผิวยังคงความเปล่งปลั่ง สดใส และมีชีวิตชีวา เราสามารถรับสารแอนติออกซิแดนต์ได้จากวิตามินเอ ซี และอี รวมถึงในสารประกอบอื่นๆ เช่น โคเอนไซม์ Q10 หรือ ซีสเตอีน เป็นต้น
มะรุมช่วยชะลอความแก่ กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ ดังนั้นการกินมะรุมสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและในปริมาณที่มากพอเป็นประจำจะทำให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย
การป้องกันมะเร็ง สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาหารเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง (กลุ่มที่ไม่ได้กินมะรุมเป็นอาหาร)